แอนิเมชัน (Animation)
แอนิเมชัน
(Animation)
หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์
ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน
โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ
หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย
ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป
เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก
การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์
การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ
GIF MNG SVG และ แฟลช
คำว่า แอนิเมชั่น (animation)
รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่า
ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต
ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้
(Paul
Wells , 1998 : 10 )
แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว"
ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน
และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา
(Persistence
of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉา่ย อย่างต่อเนื่อง
เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที
หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียว
กับวิดิโอ
แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย เช่นงานภาพยนตร์ งานโทรทัศน์
งานพัฒนาเกมส์ งานสถาปัตย์
งานก่อสร้าง
งานด้านวิทยาศาสตร์ หรืองานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น (ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ : 2552 : 222 )
สรุปความหมายของแอนิเมชั่นคือ การสร้างสรรค์ลายเส้นรูปทรงต่างๆให้เกิดการเคลื่อนไหวตามความคิดหรือจินตนาการ
ชนิดของแอนิเมชั่น
สามารถแบ่งออกได้เป็น
3 ชนิดคือ
1. Drawn
Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ
แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ
มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม
แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก
ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ
อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว
ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน แต่การทำ Stop Motmotion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก
เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้
10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก
3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น
เช่น โปรแกรมMaya, Macromediaและ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก
เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110
คนเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น